หมอใหญ่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตรวจเยี่ยมเปิดจุด

admin2

หมอใหญ่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตรวจเยี่ยมเปิดจุดฉีดวัคซีนโควิด-19 Pfizer / AstraZeneca แบบ walk in เป็นวันแรก หวังกระตุ้นภูมิให้กับประชาชน 18 ปีขึ้นไปในพื้นที่ไม่จำกัดสัญชาติ 7-12 มี.ค.นี้
วันที่ 7 มีนาคม 2565 เวลา 09.30 น. นายแพทย์ยุทธนา วรรณโพธิ์กลาง นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พร้อมด้วย ผู้บริหารเทศบาลเมืองอโยธยา และผู้เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการเปิดจุดบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 Pfizer / AstraZeneca แบบ walk in เป็นวันแรก ซึ่งจะให้บริการระหว่างวันที่ 7-12 มีนาคม 2565 ตั้งแต่เวลา 09.00 -15.00 น. ณ อาคารอเนกประสงค์ ด้านหลัง วัดใหญ่ชัยมงคล อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา จำนวนวันละ 1,500 คน ให้กับประชาชนไม่จำกัดสัญชาติ อายุ 18 ปีขึ้นไป ได้ตั้งแต่เข็มที่ 1-3 โดยเฉพาะเข็มกระตุ้น เข็มที่ 3
นายแพทย์ยุทธนา กล่าวว่า ภาพรวมการฉีดวัคซีนของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ของทุกกลุ่มอายุทำได้มากกว่า 90% ในเข็มแรก และกว่า 40% ในเข็มที่สาม ซึ่งเป็นเครื่องมือหนึ่งที่สำคัญในการต่อสู้กับการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โอไมครอนนี้ ในส่วนระลอกเดือน มกราคม จนถึงปัจจุบัน มีแนวโน้มที่มีผู้ติดเชื้อสูงขึ้น และติดเชื้อจะง่ายขึ้นจากระลอกที่ผ่านมา แต่ในขณะเดียวกันผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงจะพบเจอน้อยลง ดังนั้น มาตรการที่จะนำมารับมือได้ดีที่สุด เรื่องแรก คือ การฉีดวัคซีน ซึ่งในวันนี้เป็นการจัดฉีดวัคซีนนอกสถานที่อีกครั้งหนึ่ง โดยเราหวังผลในทุกเข็ม แต่สำคัญที่สุด คือเข็มกระตุ้น (เข็มที่ 3) สำหรับท่านที่ได้ฉีดวัคซีน 2 เข็มแล้ว และครบระยะที่ต้องมาฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น (เข็มที่ 3) ทางสำนักงานสาธาณสุขจังหวัด ร่วมกับโรงพยาบาลชุมชน และสำนักงานสาธารณสุขอำเภอทุกแห่ง มีการจัดสรรวัคซีนสำหรับบริการทุกท่านไม่ว่าจะเป็น Pfizer หรือ AstraZeneca ซึ่งวัคซีนเข็มที่ 3 จะช่วยให้ท่านรับมือกับเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โอไมครอน ได้เป็นอย่างดี
ทั้งนี้ จากสถานการณ์การระบาดทำให้มีผู้ป่วยรายวันเพิ่มมากขึ้น และส่วนใหญ่ถ้าได้รับวัคซีนแล้ว หรือไม่มีภาวะเสี่ยงอื่น หรือเรียกว่ากลุ่ม 607 ไม่ว่าจะเป็น เบาหวาน ความดัน ไต หัวใจ น้ำหนักเกิน อายุมากกว่า 60 ปี หรือโรคเรื้อรังอื่นๆ เมื่อท่านเป็นผู้ติดเชื้อและแพทย์พิจารณาว่าไม่มีอาการหรือมีอาการน้อยจะสามารถเข้าสู่ระบบการรักษา โดยมาที่จุดบริการของสาธารณสุขต่าง ๆ โรงพยาบาล หรือ รพ.สต. เมื่อตรวจพบทางเจ้าหน้าที่จะประเมินอาการ ซึ่งหาก “เจอ” เจ้าหน้าที่จะทำการ “แจก” มีอยู่ 2 อย่าง ได้แก่ 1. แจกความรู้ ซึ่งทางเจ้าที่จะอธิบายว่าต้องปฏิบัติตัวอย่างไร เบอร์โทรของเจ้าหน้าที่ เพื่อการติดต่ออย่างใกล้ชิดเมื่อมีอาการเปลี่ยนแปลง 2. แจกยา ซึ่งจะเป็นยาที่ใช้จำเพาะที่สำหรับอาการ หรือความเสี่ยงบางประการ เช่น ยาฟาวิพิราเวียร์ ฟ้าทะลายโจร และยารักษาตามอาการ โดยเจ้าหน้าที่จะโทรติดตามอาการจนครบ 48 ชั่วโมง และกักตัวจนครบการรักษา จนหายจากการติดเชื้อแล้วกลับมาใช้ชีวิตปกติ
สุขุม แก้วกุดั่น อยุธยา

Next Post

ป.ป.ช. อุบลฯ ร่วมกับ ชมรม STRONG อุบลฯ ลงพื้นที่

ป.ป.ช. อุบลฯ ร่วมกับ ชมรม STRONG อุบลฯ ลงพื้นที่ตร […]

You May Like

ข่าวภูธร