นาย วีระชัย นาคมาศ นาค-คะ-มาด ผู้ว่าราชการ

admin2

นาย วีระชัย นาคมาศ นาค-คะ-มาด ผู้ว่าราชการ จังหวัด พระนครศรีอยุธยา จัดพิธีวางพานพุ่มถวายราชสักการะและสดุดี พระบิดาแห่งมาตรฐานการช่างไทย เพื่อน้อมรำลึกเนื่องในวันมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ 2 มีนาคม 2565 วันที่ 2 มีนาคม 2565 เวลา 09.15 น. ที่สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 15 พระนครศรีอยุธยา อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นายวีระชัย นาคมาศ นาค-คะ-มาด ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นประธานในพิธีวางพานพุ่มถวายราชสักการะและถวายราชสดุดีแด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระบิดาแห่งมาตรฐานการช่างไทย เนื่องในวันมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ประจำปี 2565 จัดโดยสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 15 พระนครศรีอยุธยา โดยมี หัวหน้าส่วนราชการในสังกัดกระทรวงแรงงาน ทหาร ตำรวจ ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ ร่วมพิธี เพื่อเป็นการน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ ในโอกาสนี้ ประธานฯ พร้อมคณะผู้บริหาร ได้เยี่ยมชมนิทรรศการเทิดพระเกียรติ เพื่อแสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถด้านช่างของพระองค์ อีกทั้ง ยังมีการออกบูธสาธิตในเรื่องของการพัฒนาฝีมือแรงงาน ระบบโซล่าเซลล์ ระบบไฟฟ้า การทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติต่าง ๆ อีกทั้งได้รับความร่วมมือจากสถานประกอบกิจการและหน่วยงานต่างๆ นำผลผลิตนำมาแสดงภายในงานอีกด้วย
มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2552ได้ถวายพระราชสมัญญาแด่พระองค์ให้เป็น พระบิดาแห่งมาตรฐานการช่างไทย พร้อมกำหนดให้วันที่ 2 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2513 พระบาทสมเด็จพระบรมชนการิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดงานแนะแนวอาชีพและแข่งขันฝีมือช่างแห่งชาติ ณ ลุมพินีสถาน และพระราชทานพระราชดำรัสเกี่ยวกับการช่างของไทย ความตอนหนึ่งว่า ช่างทุกประเภท เป็นกลไกสำคัญอย่างยิ่งในชีวิตของบ้านเมืองและของทุกคนเพราะตลอดชีวิตของเรา เราต้องอาศัยและใช้บริการ หรือสิ่งต่างๆที่มาจากฝีมือช่างอยู่ทุกวี่ทุกวัน ผู้เป็นช่างจึงสมควรได้รับความเอาใจใส่สนับสนุนจากทุกๆฝ่าย ยิ่งในสมัยปัจจุบันวิทยาการทุกอย่างเจริญก้าวหน้ายิ่งจำเป็นต้องส่งเสริมมากเป็นพิเศษ เพื่อให้ได้ช่างที่มีความสามารถสูง ให้มีสิ่งใช้สอยที่มีคุณภาพดีและเพียงพอกับความต้องการ ในการส่งเสริมนั้นมีปัญหาอันควรจะได้พิจารณาช่วยเหลืออยู่สามประการ ประการแรก ปัญหาเรื่องการให้ความรู้ทางหลักวิชาการ และความรู้ทางการออกแบบ ประการที่สอง ปัญหาเรื่องฝีมือซึ่งจะต้องปรับปรุงให้มีความประณีตและประสิทธิภาพได้มาตรฐานจริงๆ และประการที่สาม ปัญหาเรื่องการจัดหางานและหาตลาด เพื่อช่วยให้ช่างได้มีงานทำ มีตลาดที่จะส่งสินค้าที่ผลิตได้ไปจำหน่าย การช่วยเหลือทั้งสามประการนี้ จะต้องกระทำให้สอดคล้องกันไป เพื่อให้ช่างมีรายได้และผลกำไร สำหรับนำมาเป็นทุนรอนสร้างฐานะและความก้าวหน้า ข้าพเจ้าใคร่ขอฝากความคิดทั้งนี้ไว้เป็นแนวทางปฏิบัติของท่านทั้งหลายต่อไป จากกระแสพระราชดำรัสดังกล่าว สะท้อนให้เห็นถึงสายพระเนตรอันยาวไกลที่มีพระราชดำริถึงความสำคัญของช่างฝีมือ ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อทุกคนในสังคมจึงจำเป็นต้องพัฒนาให้มีมาตรฐานฝีมือ เพราะนั่นหมายถึงคุณภาพของสินค้าและบริการตลอดจนความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่มีต่อประเทศไทย แม้จะพระราชทานไว้เป็นเวลาผ่านมาถึง 50 ปีแล้ว ยังคงทันสมัยอยู่เสมอและนับวันจะทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้น

สุขุม แก้วกุดั่น อยุธยา

Next Post

นางสาว นุชถาถ ประทีปธีรานันต์ รองผู้ว่าราชการ

นางสาว นุชถาถ ประทีปธีรานันต์ รองผู้ว่าราชการจังหว […]

ข่าวภูธร