โควิค-19 จ.อุบลฯ เผยมาตรการเข้ม 6-6-7 แผนเผชิญเหตุ

admin2

โควิค-19 จ.อุบลฯ เผยมาตรการเข้ม 6-6-7 แผนเผชิญเหตุ ในโรงเรีบน นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เผยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิค-19 ของ จ.อุบลฯ พบจำนวนผู้ติดเชื้อลดลง โดยเมื่อวานนี้ 12 ม.ค. 65 พบผู้ติดเชื้อ จำนวน 295 คน ลดลงจากเมื่อวาน 11 ม.ค. 65 ที่มีผู้ติดเชื้อจำนวน 325 ราย ซึ่งในตัวเลข 295 ราย พบในกลุ่มที่อยู่ในระบบกักตัวอยู่แล้ว จำนวนประมาณ 149 ราย และกลุ่มที่อยู่นอกระบบการกักตัวอีก จำนวนประมาณ 146 ราย โดยอำเภอเมือง อำเภอเวารินชำราบ และอำเภอเดชอุดม เป็น 3 อำเภอ ที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุด และมี 6 อำเภอที่ในจังหวัดอุบลฯไม่พบตัวเลขผู้ติดเชื้อ หากดูจากตัวเลขผู้ติดเชื้อโดยรวมของจังหวัด นับเป็นสัญญาณที่ดีที่ตัวเลขโดยรวมของผู้ติดเชื้อภายในจังหวัดลดลง แต่ตัวเลขกลุ่มที่อยู่นอกระบบการกักตัวของจังหวัดกลับสูงขึ้นกว่าเมื่อวาน  11 ม.ค.65อย่างไรก็ตามจังหวัดอุบลฯ ยังคงเป็น 1 ใน 10 จังหวัดที่มีผู้ติดเชื้อมากที่สุดในประเทศไทย ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่ยังคงต้องจับตาเฝ้าระวัง และดำเนินการตามมาตรการต่างๆอย่างเข้มข้นต่อไป

จ่อปรับโควิคเป็นโรคประจำถิ่น แจงเหตุเชื้อไม่รุนแรง ตายน้อย นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวว่า จากการที่กรมควบคุมโรคได้ออกมาเปิดเผยว่า ในอนาคตใกล้ๆอาจจะมีการพิจารณาประกาศให้โรคโควิค19 เป็นโรคประจำถิ่น ทางกระทรวงสาธารณสุขออกมาอธิบายเพิ่มเติมว่าโรคประจำถิ่น เป็นโรคที่เกิดประจำพื้นที่ มีอัตราการป่วย สถานการณ์ค่อนข้างคงที่ มีความรุนแรงลดลง และสามารถคาดการณ์ได้ ดังเช่น ไข้หวัดใหญ่ หรือโรคไข้เลือดออก โดยความรุนแรงจะวัดจากจำนวนผู้เสียชีวิต หรือจำนวนของอาการผู้ป่วยรุนแรง ซึ่งโควิค-19 อาจกลายเป็นโรคประจำถิ่นได้ ด้วยสาเหตุหลักๆ คือ
เป็นโรคที่มีการคาดการณ์การติดเชื้อได้ หรือที่เรียกว่าอยู่ในการควบคุม เชื้อไม่รุนแรง โดยปัจจุบันความรุนแรงอัตราการป่วยโควิค-19 ลดลงเหลือเสียชีวิต 1 ราย จากผู้ติดเชื้อ 1,000 ราย จากที่ในช่วงแรกของการระบาด ซึ่งมีอัตราป่วยและเสียชีวิต 30 ราย จากผู้ป่วย 1,000 ราย นอกจากนั้นยังปัจจัยอื่นๆอีก เช่น ประชาชนมีภูมิคุ้มกันที่ดี มีการฉีดวัคซีนมากขึ้น มีการบริหารจัดการที่ดีในเรื่องของระบบรักษาพยาบาลและการชะลอการแพร่กระจาย ของโรค รวมถึงมาตรการในการรับมือและวินัยในการดำรงชีวิตเพื่อให้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อน้อยที่สุด

เข้มแผนเผชิญเหตุ เน้นมาตรการ 6-6-7 รับมือโควิค-19 ในโรงเรียน นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวว่า จากการแถลงข้อมูลในที่ระชุมของกระทรวงสาธารณสุขโดย แพทย์หญิงสุมนี วัชรสินธุ์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิค-19 ศบค. ได้หารือเรื่องการปิด-เปิดโรงเรียน ซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียนของเด็ก ถึงการแผนเผชิญเหตุ เตรียมความพร้อมที่จะเปิดเรียน ด้วยมาตรการ 6-6-7 6 มาตรการเข้ม 6 มาตรการเสริม และ 7 มาตรการเข้มงวด คือ 6 มาตรการหลัก ได้แก่ เว้นระยะ สวมหน้ากากตลอดเวลา ล้างมือ วัดไข้ ไม่ทำกิจกรรมที่มีคนแออัด 6 มาตรการเสริม ได้แก่ การใช้ช้อนกลาง ลงทะเบียนเข้า-ออก และ 7 มาตรการเข้มงวด คือ การประเมินสถานที่อยู่ตลอดเวลาว่ามีจุดเสี่ยงเพิ่มเติมหรือไม่ ทั้งนี้เมื่อเจอผู้ติดเชื้อ 1-2 ราย ในโรงเรียนให้ดำเนินการตามแผนเผชิญเหตุ และไม่จำเป็นต้องปิดทั้งโรงเรียน
ทีมข่าวภูธร:ออนไลน์ รายงาน

Next Post

ผวจ.อุบลฯ เผย สถานการณ์โควิค-19 จ.อุบลฯ ยังไม่ เป็นที่

ผวจ.อุบลฯ เผย สถานการณ์โควิค-19 จ.อุบลฯ ยังไม่ เป็ […]

You May Like

ข่าวภูธร