จ.น่าน สถาบันการสร้างชาติ หยิบยกแผนพัฒนาบ้านง้อมเปา ตำบลขุนน่าน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน มานำเสนอ มุ่งสร้างหมู่บ้านท่องเที่ยวคุณภาพระดับโลก ต้นแบบเทียบเท่าญี่ปุ่น เกาหลีเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2564 เวลา 19:00 น. ที่ โรงเรียนบ้านดอน ศรีเสริมกสิกร อ.เมืองน่าน จังหวัดน่าน ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ประธานสถาบันการสร้างชาติ บรรยายพิเศษยุทธศาสตร์น่านสร้างชาติ ที่โดยมีนายชัยนรงค์ วงศ์ใหญ่ รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน กล่าวต้อนรับ มีนายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดน่าน นายนพรัตน์ ถาวงศ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน หัวหน้าส่วนราชการและประชาชนที่สนใจร่วมกิจกรรมจำนวนมาก โดยประธานสถาบันการสร้างชาติได้หยิบยกแผนพัฒนาบ้านง้อมเปา ตำบลขุนน่าน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน ซึ่งเป็นหมู่บ้านทุรกันดารที่อยู่ในพื้นที่ชายแดน ทรัพยากรถูกทำลาย โดยได้ง้อมเปา ต.ขุนน่าน พื้นที่ดังกล่าวสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาสยามบรมราชกุมารีได้เข้าไปทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมดำเนินโครงการ ให้โอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียมและอื่นๆให้แก่ประชาชนในพื้นที่ โดยชูประเด็นน่านเมืองแห่งความรัก เมืองแห่งความรักธรรมชาติโรแมนติก วิถีชีวิตเรียบง่าย สังคมแห่งรัก ตามวิถี น่าน เนิบ เนิบ ผู้คนน่ารัก อัธยาศรัยดี สังคมสงบสุข ศิลปวัฒนธรรมงดงาม วัดวาอารามวิจิตร คนน่าน รักคนน่าน รักบ้านเกิด สนใจ ห่วงใยเมืองน่าน ร่วมมือ สามัคคี พัฒนาอย่างยั่งยืน ฟื้นฟูป่าต้นน้ำน่าน อย่างไรก็ตามนั่นก็ยังมีปัญหาจากสถิติพบว่าประชาชนในจังหวัดน่านมีความยากจนเป็นอันดับ 2 ของประเทศ เป็นเมืองรองไม่ใช่เมืองหลัก ซึ่งต่างชาติยังไม่รู้จัก ชูวิสัยทัศน์ให้บ้านง้อมเปาเป็นเมืองหลวงแห่งความรัก เป็นต้นธารและต้นแบบการพัฒนา
ง้อมเปา มีชื่อเดิมว่า ห้วยกานต์ หรือสายน้ำอันเป็นที่รัก ชนพื้นเมืองของบ้านห้วยกานคือเผ่าลัวะ ความรักความซื่อ ความขยัน กำลังน้อยและเสียเปรียบ มีการพัฒนาน้อย ความเป็นชนบทสูง วิถีชีวิตเรียบง่าย อากาศเย็นตลอดปี ภูมิประเทศสวยงาม ปลูกฟักทองได้ผลดี และมีปลามันอยู่ในพื้นที่ ง้อมเปา อยู่ในพื้นที่ยากจนที่สุด อย่างไรก็ตาม มีโอกาส ในการพัฒนาคือเป็นศูนย์กลางของตำบลขุนน่านสามารถที่จะรองรับนักท่องเที่ยวจีนในอนาคต ซึ่งเชื่อมโยงถนนห้วยโก๋นหลวง-พระบาง ใช้เวลา 3 ชั่วโมง เชื่อมโยงรถไฟความเร็วสูงจีน-ลาว ซึ่งจะเปิดในเดือนธันวาคม 2564 และมีโอกาสในการเปิดเส้นทางท่องเที่ยวใหม่หลวงพระบาง- ง้อมเปา ทั้งนี้ไก้มีการออกแบบพัฒนาพื้นที่ สร้าง Story สัญลักษณ์ วางแผนการปลูกป่าเพื่อการท่องเที่ยว เช่น ป่าไผ่ยักษ์น่าน อุทยานสมุนไพร 1,800 ชนิด ปลูกต้นไม้หลากหลาย วางแผนให้ออกดอกทุกฤดูกาล
และจูงใจให้ชาวบ้านปลูกป่า มีกิจกรรมเสริมคือ ปลูกทุ่งดอกไม้สวย ๆ ในฤดูท่องเที่ยว ปรับภูมิทัศน์แปลงเกษตร พัฒนากิจกรรม เช่น จับปลามัน ทำเมนู ข้าวใหม่ปลามัน”ฟาร์มสเตย์ โฮมสเตย์ สคูลสเตย์ ลานกางเต้นท์ มีร้านอาหาร ร้านกาแฟ ร้านขายของที่ระลึก ออกแบบยุทธศาสตร์ระดับชุมชน เช่น ปรับปรุงบ้านเรือนให้สวยงาม สะอาด มีระเบียบ ประดับ ตกแต่ง ถนน บ้านเรือน ให้สวยงาม สร้างจุดถ่ายรูป เช็คอิน
ใช้เทคโนโลยีเพื่อการท่องเที่ยว จัดเทศกาลและปฏิทินท่องเที่ยวตลอดปี สร้างเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ให้เป็นเมืองหลวงแห่งรัก มีความพิเศษ ที่นี่ที่เดียว มูลค่าเพิ่มสูง ทำน้อยได้มาก มีความแตกต่าง มีเอกลักษณ์ อัตลักษณ์เฉพาะตัว ฟื้นฟูอัตลักษณ์วัฒนธรรมลัวะ ศึกษาวิจัย เรื่องเล่า ประเพณี พิธีกรรม ภาษา บ้านเรือน อาหาร ความสัมพันธ์ทางสังคม ออกแบบการแสดงออกทางวัฒนธรรมเช่น เครื่องแต่งกาย เล่านิทาน การเต้น เพลง ตั้งชมรมคนรักลัวะ พัฒนาและเผยแพร่วัฒนธรรมลัวะ ใช้ทุนวัฒนธรรม สร้างเร่องเล่า ส่งเสริมการท่องเที่ยว สินค้า บริการ สร้างห่วงโซ่อุปทานใหม่
สร้างห่วงโซ่อุปทานสีเขียว เกษตรอินทรีย์ เกษตรผสมผสาน กิจกรรมต่างๆ เกื้อกูลกัน ลดการใช้สารเคมี ผลิตปุ๋ยพลังงานจากเศษเหลือทิ้ง ลดการเผา ปลอดขยะ Triple Zero Waste
ดึงความร่วมมือทุกภาคกิจ เพื่อพัฒนาครบวงจร จับคู่1 ผลิตภัณฑ์ชุมชนกับ 1 นักวิจัย
พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดในทุกมิติ เพิ่มผลิตภาพ ลดต้นทุน พัฒนาคุณภาพการศึกษา เด็กดี เก่งกล้า พี่ติวน้อง พัฒนาครู ผู้บริหาร โมเดล้าน สามหลัก พัฒนาแปลงภายใต้คำขวัญบ้านง้อมเปา “สายธารรัก ฟักทองใหญ่ ป่าสมุนไพร คนใจดี มีปลามัน” ซึ่งหากสามารถดำเนินแผนได้ประสบความสำเร็จ ง้อมเปาจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก เทียบชั้นกับแหล่งท่องเที่ยวดังๆในโลก เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี ฮ่องกง เป็นต้นประสิทธิ์ สองเมืองแก่น โทร.0848084888